CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติสำนักงานคลัง
ประวัติกรมบัญชีกลาง
15-aLp
  ใน พ.ศ. 2416 (จ.ศ. 1235) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน กำหนดให้มีเจ้าพนักงานบาญชีกลาง เพื่อทำหน้าที่จัดบัญชีอากรทั้งปวงบรรดาที่ขึ้นอยู่ ในหอรัษฎากรพิพัฒนให้เป็นหลักฐาน จะได้ทราบฐานะการเงินของแผ่นดินได้แน่นอน โดยตั้งอยู่ในหอรัษฎาพิพัฒนในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 (จ.ศ. 1237) ได้ทรงตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติว่าด้วย กรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน เหตุผลในการตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมีว่า การภาษีอากรซึ่งเป็นเงินขึ้นสำหรับแผ่นดินได้จับจ่ายราชการทนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังไม่มีอย่างธรรมเนียมรับธรรมเนียมจ่ายเงินให้เรียบร้อย เงินจึงได้ติดค้างเจ้าภาษีนายอากรเป็นอันมาก ไม่พอจับจ่ายใช้ราชการทนุบำรุงบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้นได้ จึงทรงพระราชดำริปรึกษาพร้อมด้วยท่านเสนาบดีและเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดตั้งเป็นพระราชบัญญัตินี้ขึ้น หลักการของพระราชบัญญัตินี้คือ การจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้มีอธิบดีเป็นประธาน และรองอธิบดีช่วยราชการท่านผู้เป็นอธิบดี มีเจ้าพนักงานใหญ่ 5 นาย คือ     
     ปลัดอธิบดี-นาย 1 
     เจ้าพนักงานบาญชีกลางนาย 1 
     เจ้าพนักงานบาญชีรับเงินนาย 1 
     เจ้าพนักงานบาญชีจ่ายนาย 1
     เจ้าพนักงานเก็บเงินนาย 1 
  • กับให้มีเจ้าพนักงานเป็นรองเจ้าพนักงานใหญ่อีกนานยละ 1 คน พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของบรรดาเจ้าพนักงานขึ้นไว้โดยชัดแจ้ง นอกจากนั้นยังกำหนดให้มีออดิตอเยเนอราล เป็นเจ้าพนักงานสำหรับตรวจบาญชีและสิ่งของซึ่งเป็นรายขึ้นในแผ่นดินทุก ๆ ราย และจัดวางระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในกรมพระคลังมหาสมบัติ (กรมพระคลังมหาสมบัติ คือ กระทรวงการคลังในปัจจุบัน) อย่างไรก็ดี การดำเนินงานของกรมพระคลังมหาสมบัติที่ตั้งขึ้นใหม่ ยังมีอุปสรรคและยังไม่เหมาะสม เนื่องจากกิจการบ้านเมืองเจริญก้าวหน้ามากขึ้นและกรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้วดังนั้นในปี 2433 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับรับ สำหรับจ่ายและรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวงกับถือบาญชีพระราชทรัพย์สำหรับในกระทรวงสิทธิขาด นับเป็นกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ 13 กรม ดังนี้ กรมเจ้ากระทรวง 5 กรม คือ
  1. กรมพระคลังกลาง สำหรับประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่าภาษีอากร และบังคับบัญชาราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งสิ้น    
  2. กรมสารบาญชี สำหรับจ่ายเงินแผ่นดิน และถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
  3. กรมตรวจ สำหรับตรวจบาญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงินแผ่นดิน และสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งสิ้น 
  4. กรมเก็บ สำหรับรักษาพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น 
  5. กรมพระคลังข้างที่ สำหรับจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น 8 กรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

     แผนกหนึ่ง กรมทำการแผ่นดิน มี 3 กรม คือ 

  1. กรมกระสาปนสิทธิการ สำหรับทำเงินตรา 
  2. กรมงานพิมพ์บัตร สำหรับทำเงินกระดาษและตั๋วตรา 
  3. กรมราชพัสดุ สำหรับจัดการซื้อจ่ายของห้องหลวงและรับจ่ายของส่วย

     อีกแผนกหนึ่ง กรมเจ้าจำนวน เก็บเงินภาษีอากร มี 5 กรม คือ 

  1. กรมส่วย สำหรับเร่งเงินค่าราชการตัวเลขและค่าธรรมเนียม 
  2. กรมสรรพากร สำหรับเก็บเงินอากรต่าง ๆ 
  3. กรมสรรพภาษี สำหรับเก็บเงินภาษีต่าง ๆ 
  4. กรมอากรที่ดิน สำหรับเก็บเงินอากรค่าที่ต่าง ๆ 
  5. กรมศุลกากร สำหรับเก็บเงินภาษีขาเข้าขาออก
  • ซึ่งโดยผลแห่งพระราชบัญญัติพระธรรมนูญฉบับดังกล่าว กรมสารบาญชี หรือกรมบัญชีกลางในปัจจุบัน จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) โดยมีสถานที่ทำการ ณ ตึกหอ-รัษฏากรพิพัฒน ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดอำนาจหน้ที่กรมต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้ง 13 กรม ไว้โดยละเอียด 
 
12-aLp
"กรมสารบัญชี" หรือ กรมบัญชีกลางในปัจจุบันจึงถือกำเนิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 มีหน้าที่ สำหรับรับจ่ายเงินแผ่นดินและถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งหมด โดยมีอธิบดีรับผิดชอบการทั้งปวง มีรองอธิบดีสำหรับช่วยการแทน และมีนายเวร 4 นาย คือ เวรรับ เวรจ่าย เวรแบงก์ และเวรบาญชี
13-aLp
 
  • สำหรับกรมสารบาญชีนั้น พระราช-บัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และแบ่งส่วนราชการ ดังนี้ กรมสารบาญชี มีหน้าที่รับจ่ายเงินตามรายประมาณ และทำบาญชีรักษาพระราชทรัพย์แลสารบาญชีหน้าหลวงใบนำเบิกทั้งสิ้น มีอธิบดีรับผิดชอบในกรมสารบาญชีทั่วไป 1 รองอธิบดีสำหรับช่วยการในอธิบดี 1 มีนายเวร 4 คือ    
  1. เวรรับ สำหรับรับเงิน ฤาราชสมบัติทั้งปวง และทำบาญชีรายรับ 
  2. เวรจ่าย สำหรับจ่ายเงิน ฤาราชสมบัติทั้งปวง และทำบาญชีรายจ่าย 
  3. เวรแบงค์ สำหรับทำบาญชีเงินรับจ่ายในนานาประเทศ แลเป็นธุระการแลกเปลี่ยน หรือเงินฝากแบงค์ 
  4. เวรบาญชี สำหรับรักษาบาญชีพระราชทรัพย์ บาญชีรายงบประมาณบาญชีหนี้หลวง แลใบเบิก ใบนำใบเสร็จ ตั้งเร่งหนี้หลวง มีเจ้าพนักงานผู้ช่วย เสมียนเอก เสมียนโท เสมียนสามัญ พรอสมควรแก่ราชการ
  • และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยานรนารถภักดีศรีรัษฏากร (เอม ณ มหาชัย) เป็นอธิบดีกรมสารบาญชีคนแรก และโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช เป็นรองอธิบดี กับทรงแต่งตั้งให้มิสเตอร์ แอล.เอ็ม.เอ็ม.ครอส (Mr.L.M.M.Cross) เป็นผู้ช่วยอธิบดีที่ปรึกษากับการบัญชีทั้งปวง และในปี พ.ศ.2433 นั้นเอง
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกรมสารบาญขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) กำหนดหน้าที่ และแบ่งส่วนราชการกรมสารบาญชีออกเป็น 3 กอง คือ กองบาญชีกลาง กองรับและกองจ่ายกับนายเวร 4 คือ เวรรับ เวรจ่าย เวรเกณฑ์ (เดิมเรียกว่า เวรแบงค์)และเวรบาญชี ครั้นมาในปี พ.ศ. 2458 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับกรมสารบาญชี ดังนี้คือ ในเวลานั้นเงินรายได้รายจ่ายของแผ่นดินมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จำเป็นจะต้องตรวจตราการรับจ่ายและเงินรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่เฉพาะสำหรับปฏิบัติการไม่ก้าวก่ายกันดังที่เป็นอยู่แล้ว
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับทำหน้าที่ตรวจหน่วยราชการที่รับหรือเบิกจ่าย หรือรักษาเงินแผ่นดิน และเงินอื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ และเพื่อมิให้หน้าที่ของกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ปะปนกับหน้าที่ของกรมเดิม จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมตรวจกับกรมสารบาญชี ตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมบาญชีกลาง" เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2458 อันถือเป็นวันที่ได้มีการสถาปนากรมบัญชีกลางขึ้นเป็นครั้งแรก
 
 
ประวัติจังหวัดยโสธร
15-aLp   
  • เมืองยโสธรเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชีได้ชื่อว่าเมืองบั้งไฟเป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า 200 ปี ยโสธรมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภูนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบานและเกี่ยวพันกับเมืองอุบลฯ
  • ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธรได้พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จากยุคประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ชุมชนโบราณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุ่งราบโล่งหรือบริเวณขอบชายทุ่ง ติดกับพื้นที่โคกและป่า ได้แก่ชุมชนโบราณชายขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ในเขตอำเภอมหาชนะชัยและอำเภอค้อวัง เช่น ชุมชนโบราณที่บ้านหัวเมือง บ้านคูเมือง บ้านคูสองชั้น ในเขตอำเภอมหาชนะชัย ชุมชนโบราณบ้านน้ำอ้อม บ้านโพนแพง บ้านหมากมาย บ้านแข้ บ้านโพนเมือง ในเขตอำเภอค้อวัง
  • ดินแดนจังหวัดยโสธรไม่ปรากฏว่ามีศิลปะสมัยสุโขทัยอยู่เลย อาจจะเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ซึ่งมีภูเขาสูงใหญ่กั้นอยู่ การติดต่อค้าขายและไปมาหาสู่กันจึงแทบไม่มี ประกอบกับอาณาจักรสุโขทัยทางด้านตะวันออก มีอาณาเขตมาถึงอาณาจักรเวียงจันทน์ เสียงคำเท่านั้น และไม่ปรากฏว่ามีศิลปะสมัยอยุธยาเข้ามาถึงด้วยเช่นกัน อาจจะเนื่องจากดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตของอาณาจักรล้านช้าง และได้เป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรอยุธยา ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระธาตุศรีสองรัก อันเป็นสักขีพยานถึงความรักใคร่ เป็นสัมพันธไมตรีต่อกัน ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าไชยเชษฐา แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างหลวงพระบาง ราชอาณาจักรอยุธยาได้แผ่ไปถึงจังหวัดนครราชสีมา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • ประมาณปีพุทธศักราช 2314 พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจเจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกัน พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง 2 ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำ เจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร ) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่าค่ายบ้านดู่บ้านแก
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2321 เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกจนเจ้าพระวอถึงแก่ความตาย เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอ และบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่าดอนมดแดง แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสม ที่จะสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูล ถึงห้วยแจระแมแล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง เมื่อปีกุน พ.ศ. 2322 แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่าเมืองอุบล   เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของตน(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล และได้รับพระราชทินนามว่าพระปทุมสุรราช  หลังจากนั้นต่อมา เจ้าฝ่ายหน้าน้องพระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบล พร้อมกับนางอูสา ไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่ บ้านสิงห์ท่าซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ พระปทุมสุรราชไม่ขัดข้องจึงได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
  • พ.ศ. 2325 หลังจากที่เจ้าฝ่ายหน้าได้ไปช่วยปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโองที่นครจำปาศักดิ์ ตามใบบอกของพระปทุมสุรราช เจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์ตามบัญชาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  • ในปี พ.ศ. 2334 ทางเมืองนครจำปาศักดิ์เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ตั้งตัวเป็นใหญ่ ยึดเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ พระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบลฯ จึงได้มีใบบอกไปยังฝ่ายหน้าผู้น้อง ให้ร่วมกันยกกำลังไปปราบอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ทั้งสองพี้น้องได้ยกกำลังไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์กลับคืนมาได้ ก่อนที่กองทัพเมืองนครราชสีมาจะยกมาถึง และให้เจ้าฝ่ายหน้าติดตามจับอ้ายเชียงแก้วเขาโองได้ แล้วประหารชีวิตเสีย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเจ้าฝ่ายหน้าขึ้นเป็นเจ้า มีพระราชทินนามว่า เจ้าพระยาพิชัยราชขัติยวงศาเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้ย้ายจากบ้านสิงห์ท่า ไปอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ทางบ้านสิงห์ท่าได้ให้ท้าวคำม่วงผู้เป็นน้องชายปกครองแทน
  • พ.ศ. 2354 เจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า เมืองยศสุนทร ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า พระสุนทรราชวงศา   เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร
  • (คำว่า   ยศสุนทร   ต่อมากลายเป็นยะโสธร มีความหมายว่า ทรงไว้ซึ่งยศ แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า ยะโส ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. 2500 - 2513) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น   ยโสธร และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้ )
  • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมืองยโสธรก็ได้รับเกณฑ์เข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วยได้ชัยชนะ ได้รับพระราชทานเชลยเมืองเวียงจันทน์ 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองหนึ่งกระบอกชื่อว่า ปืนนางป้อง ยังปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระสุนทรราชวงศาเห็นได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้นำศิลาจากบ้านแก้งหินโงมมาสร้างพระพุทธบาทจำลอง แล้วสร้างวัดป่าอัมพวัน และวัดกลางศรีไตรภูมิไว้เป็นวัดคู่เมือง
  • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดศึกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองหนองคาย เมืองยโสธรถูกเกณฑ์ให้ยกกำลังไปสมทบ กองทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็นจำนวน 500 คน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2426 พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เมืองยโสธรได้รับเกณฑ์ให้เอากำลังช้างม้าโคต่างๆ ไปเป็นพาหนะบรรทุกเสบียงไปเลี้ยงกองทัพ
  • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมืองยโสธรก็ได้รับเกณฑ์เข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วยได้ชัยชนะ ได้รับพระราชทานเชลยเมืองเวียงจันทน์ 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองหนึ่งกระบอกชื่อว่า ปืนนางป้อง ยังปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระสุนทรราชวงศาเห็นได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้นำศิลาจากบ้านแก้งหินโงมมาสร้างพระพุทธบาทจำลอง แล้วสร้างวัดป่าอัมพวัน และวัดกลางศรีไตรภูมิไว้เป็นวัดคู่เมือง
  • พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า กอง สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง 12 หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
  • ในปี พ.ศ. 2436   เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยกกำลังจากเมืองญวนมาตีเมืองสมโบกของไทย เมืองยโสธรได้ถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยรักษาเขตแดน โดยนำกำลังไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพ ฯ สามกองทัพ กองทัพละ 1,000 คน
  • พ.ศ. 2443 ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
  • ใน ปี พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมยโสธร เป็นอำเภอยโสธร เมืองยโสธร จึงลดฐานะจากเมืองมาเป็นอำเภอ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2494 กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย
yaso01
 
 
 
ประวัติสำนักงานคลังจังหวัดยโสธร
   15-aLp
  • กระทรวงการคลังได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องเปิดที่ทำการคลังจังหวัดยโสธรเล่มที่ 89 ตอนที่ 27 ง ฉบับพิเศษ วันที่ประกาศ 18 กุมภาพันธ์ 2515 หน้า 1 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า จะได้เปิดที่ทำการคลังหวัดขึ้นที่จังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป
  • สำนักงานคลังจังหวัดยโสธร ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 รายการงบลงทุน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงานเพื่อรองรับการปรับบทบาทของสำนักงานคลังจังหวัดยโสธร ในการปรับภาพลักษณ์ของสำนักงานคลังจังหวัดในกรมบัญชีกลางให้เป็นหน่วยงานที่ทันสมัยและให้บริการประชาชนด้วยมาตรฐานในระดับเดียวกัน
office-new02   
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 4 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 216,435 คน)