CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา ของสำนักงานคลังจังหวัดศรีสะเกษ
 
ประวัติสำนักงานคลังจังหวัดศรีสะเกษ
สมัยกรุงศรีอยุธยา[แก้]
         การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 ในระยะนั้น เดิมเมืองขุขันธ์ หรือพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน มีกลุ่มชนเผ่าที่ถูกราชสำนักกรุงเทพ เรียกว่า เขมรป่าดง จำนวน 6 กลุ่ม อาศัยอยู่กันมานานแล้วและได้ตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้ [15]
  • ตากะจะ(หรือตาไกร)และ เชียงขัน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (บริเวณใกล้ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน วัดเจ็ก ในเขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน)
  • เชียงปุม มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านเมืองที ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองอยู่ที่บ้านคูปทายและยกเป็นปทายสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)ส่วนเมืองทีให้เชียงปิดน้องชายเป็นหัวหน้าปกครอง
  • เชียงฆะ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปนึง หรือเมืองดงยาง (ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงชัย มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านจารพัต (ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงสง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลิง (ในเขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
  • เชียงสี (ตากะอาม) มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบัน)
    
สมัยกรุงธนบุรี[แก้]
         ลุถึงสมัยกรุงธนบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2319 – พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) โปรดเกล้าฯ มีรับสั่งให้ พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกปราบกบฏกับเวียงจันทน์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) และ ”หลวงปราบ” ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็งจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง ถือว่ามีความดีความชอบจึงได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน“ [19] [20] [21]
พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจราจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระยาสุรสีห์ ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบจราจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กำลังของเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุ-ขันธ์ และเมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงออกไปปราบปราม กองทัพไทยยกไปตีเมืองเสียมราฐ กำพงสวาย บรรทายเพชร บรรทายมาศ และเมืองรูงตำแรย์(ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ ขอขึ้นเป็นขอบขัณฑ-สีมา เสร็จแล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี
     เมื่อเสร็จสงครามเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว ได้ปูนบำเหน็จให้แก่เจ้าเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาให้พระยาทั้งสามเมือง เจ้าเมืองขุขันธ์ ได้บรรดาศักดิ์ใหม่ จากพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาขุขันธ์ภักดี(ตากะจะ) ถึงแก่อนิจกรรมจึงโปรดให้หลวงปราบ (เซียงขัน) ขึ้นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำ-ดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ ต่อมาเมืองขุขันธ์ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนกันดารน้ำ พระยาไกรภักดีฯ จึงอพยพเมืองย้ายมาอยู่บ้านแตระ (แตระ) ตำบลห้วยเหนือ ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน
 
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์[แก้]
พ.ศ. 2325 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่คือ เมืองศรีสะเกษ
พ.ศ. 2354 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองขุขันธ์ ขอพระราชทานพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ยกบ้านลังเสนเป็น เมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายเมืองกันทรลักษณ์มาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
พ.ศ. 2386 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านลำโดมใหญ่ เป็น เมืองเดชอุดม ขึ้นกับ    เมืองขุขันธ์
พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านไพรตระหมักและบ้านตาสี เป็น เมืองมโนไพร ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศกัมพูชาเรียกเมืองมะลูเปรย)
พ.ศ. 2418 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มืองหนองคายเกิดกบฏโดยกลุ่มฮ่อ โปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพคุมกองทัพจากนครราชสีมา และกองทัพจากเมืองต่างๆ รวมทั้ง เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม และเมือง     ศรีสะเกษ ไปปราบกบฏฮ่อที่หนองคาย สามารถตีกลุ่มกบฏฮ่อแตกพ่ายยับเยิน ที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด
พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เริ่มใช้นโยบายเลิกทาส มีสารตรา ไปยังหัวเมืองด้านตะวันออก ห้ามมิให้จับข่า ( กวย หรือส่วย ) มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนและใช้สอยการงานต่าง ๆ และส่วนผู้ใดได้ซื้อหามาจากผู้ใดอยู่ก่อนนั้น ก็ให้อยู่กับผู้นั้นต่อไป เพราะถ้าจะให้ข้าทาสนั้นหลุดพ้นค่าตัวไปก็จะเป็นเหตุเดือดร้อนแก่มูลนาย ผู้ซื้อและแลกเปลี่ยนมาก่อนนั้น
พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านโนนหินกอง เป็น เมืองราษีไศล ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ
พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้วางโครงข่ายระบบโทรเลขจากเมืองขุขันธ์ไปยังเมืองต่างๆ 2 สายคือ สร้างทางสายโทรเลขขุขันธ์-จำปาศักดิ์ และสร้างทางสายโทรเลขจาก   เมืองขุขันธ์-มโนไพร-เมืองเสียมราฐ
พ.ศ. 2434 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดอุดม 
เมืองศีร์ษะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวง        เมืองลาวกาว
พ.ศ. 2435 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครอง        แบบมณทล ขึ้น โดยให้เมืองศรีสะเกษขึ้นอยู่กับมณฑลอีสาน [22]
พ.ศ. 2436 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800            เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของ   เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวขุขันธ์และชาวศรีสะเกษจะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พ.ศ. 2436 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง )ป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์ โดยรวมเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ เป็นบริเวณเดียวกัน ตั้งที่ทำการข้าหลวง ณ     เมืองขุขันธ์
พ.ศ. 2445 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนชื่อ มณฑลอีสาน เป็น มณฑลอุบล มีเมือง 3 เมืองขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุบล คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์
พ.ศ. 2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์(ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบล   เมืองเก่า (ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ "เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์ เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ (ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)
ครั้น พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมบ้านเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และเมืองเดชอุดม เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียก "เมืองขุขันธ์"
พ.ศ. 2459 มี "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2459"[24] ให้เรียกเมืองขุขันธ์ใหม่เป็น "จังหวัดขุขันธ์"[5]
เขตการปกครองของจังหวัดขุขันธ์ในอดีตมี 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ซึ่งรายชื่อดังต่อไปนี้สะกดชื่อตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ได้แก่
1.      อำเภอเมืองขุขันธ์ (อำเภอห้วยเหนือ)
2.      อำเภอเมืองศรีสะเกษ
3.      อำเภอราษีไสล (อำเภอคง)
4.      อำเภอรัตนบุรี (ต่อมาถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดสุรินทร์)
5.      อำเภอกันทรลักษ์ (อำเภอน้ำอ้อม)
6.      อำเภออุทุมพรพิไสย
7.      อำเภอเดชอุดม (ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีใน พ.ศ. 2472)
8.      กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (หรืออีกชื่อหนึ่งคือกิ่งอำเภอโพนงาม ซึ่งแยกออกมาจาก อำเภอเดชอุดม ใน พ.ศ. 2466 ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับอำเภอเดชอุดม)[25]
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ตรา "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481"[26] มาตรา 3 ให้เปลี่ยนชื่อ "จังหวัดขุขันธ์" เป็น จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน  2481 ปีนั้น[5]
 
ปัจจุบัน
             สำนักงานคลังจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ที่อาคารศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ (หลังใหม่) ถนนเทพา ตำบลเมืองเหนือ อำเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541  โดยมี ขุน ขุขันเขตร์  โกษินทร์ เป็นคลังจังหวัดศรีสะเกษคนแรก ปัจจุบัน นางสาวเฉลิมรัตน์ เรืองวราคม ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดศรีสะเกษ คนที่ 23
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 49 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 156,337 คน)