CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
            ในปี พ.ศ.2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้นรับผิดชอบบริหารราชการรวม 12 กรม แทนการปกครองแบบจตุสดมภ์ ซึ่งเคยใช้มาแต่โบราณ โดยมีกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกรม 1 ใน 12 กรม พร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้ตรา " พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน " เพื่อรับผิดชอบว่าการบรรดาภาษีอากร และเงินที่จะรับจะจ่ายในแผ่นดินทั้งสิ้น และบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ของปลัดบาญชีกลาง ในหมดมาตราที่ 3 ของ พระราชบัญญัติดังกล่าว สำหรับเป็นพนักงานที่จะว่าภาษีอากรและรักษาสมุดบัญชีเงินของแผ่นดิน
 
รูป1

            ปี พ.ศ.2433 กรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวงตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน กิจการบ้านเมืองในระยะนั้นก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรางพระคลังมหาสมบัติขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ.109 (พ.ศ.2433) กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับรับ สำหรับจ่าย และรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติ พัสดุทั้งปวงกับถือบัญชีพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วพระราชอาณาจักร ีเสนาบดีรับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวง สิทธิขาด นับเป็นกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ 13 กรม

            กรมสารบาญชี เป็นกรมเจ้ากระทรวงกรมหนึ่ง มีหน้าที่สำหรับจ่ายเงินแผ่นดินและถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น โดยผลแห่งพระราชบัญญัต ิพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ วันที่ 7 ตุลาคม 2433 จึงนับเป็นวันก่อตั้งกรม และในปีเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระราชบัญญัติพระธรรมนูญกำหนดน้าที่ราชการในกระทรางพระคลังมหาสมบัติกำหนดน้าที่และแบ่งส่วนราชการ ในกรมสารบัญชีไว้กว้าง ๆ มิได้แยกออกเป็นกองให้เป็นสัดส่วนเพียงพอกับประมาณงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกรมสารบาญชีขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ร.ศ.109 (พ.ศ.2433) กำหนดหน้าที่และแบ่งกรมสารบาญชีออกเป็น 3 กอง คือ กองบาญชีกลาง กองรับ และกองจ่าย กับที่นายเวร 4 คือ เวรรับ   เวรจ่าย  เวรเกณฑ ์ และเวรบาญชี
       
            ปี พ.ศ.2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ได้กำหนดหน้าที่ใหม่และให้ชื่อ กรมบาญชีกลาง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2458 จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบรัฐธรรมนูญคณะกรรมการราษฎรจึงปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ และประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2476 ระบุนามกรมบาญชีกลางเป็น " กรมบัญชีกลาง" ตั้งแต่บัดนั้น

            จนถึง พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง คณะกรรมการราษฎรได้ปรับปรุงงานของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ใหม่ สำหรับงานในหน้าที่ของกรมบัญชีกลางนั้น มีพระราชกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงการคลัง เปลี่ยนชื่อเป็นกรมบัญชีกลาง แบ่งส่วนราชการของกรมเป็นราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รับผิดชอบตรวจสอบควบคุมการับจ่ายเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยแบ่งราชการบริหารส่วนกลางออกเป็น 4 กอง คือ กองกลาง กองเงินเดือน กองค่าใช้สอยและการจร และกองประมวลบัญชี เพื่อรับผิดชอบงานหลักของกรมที่เหลืออยู่ในขณะนั้น คือ การควบคุมงบประมาณ การตรวจจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ รวมทั้งควบคุมการรับเงินรายได้แผ่นดิน การทำบัญชีและรายงาน ตลอดจนการให้บริการด้านแนะนำและวางรูปบัญชีแก่ส่วนราชการ

            สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตั้งคลังจังหวัดรับผิดชอบควบคุมการรับและจ่ายเงิน ตลอดจนทำบัญชีและรายงานต่าง ๆ เสนอกรม และในปี พ.ศ.2516 ได้เปลี่ยนชื่อคลังจังหวัด เป็น "สำนักงานคลังจังหวัด"

 
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 1 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 181,487 คน)