CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
 
สํานักงานคลังจังหวัด เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โดยกําหนดให้กรมบัญชีกลางมี“คลังจังหวัด (Changwad Treasuries)” ขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2476 โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมการรับและจ่ายเงินตลอดจนการจัดทําบัญชีและรายงานต่างๆเสนอกรมบัญชีกลาง รวมทั้งการเป็นผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2516 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “คลังจังหวัด” เป็น “สํานักงานคลังจังหวัด” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
สํานักงานคลังจังหวัดมีการจัดแบ่งโครงสร้างหน่วยงานออกเป็น 4 ฝ่าย คือ
1.      ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2.      ฝ่ายบริหารการรับและเบิกจ่าย 1
3.      ฝ่ายบริหารการรับและเบิกจ่าย 2
4.      ฝ่ายบริหารการรับและเบิกจ่าย 3
 
หน้าที่ของสํานักงานคลังจังหวัด สํานักงานคลังอําเภอที่ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2516
1.       รับรายได้และตรวจอนุมัติฎีกาเงินในงบประมาณทุกหมวดที่ได้โอนจัดสรรไปตั้งจ่ายในส่วนภูมิภาคตามความต้องการของส่วนราชการต่างๆ
2.       รับ – จ่ายและตรวจอนุมัติฎีกาเงินนอกงบประมาณต่างๆ
3.       เก็บรักษาเงินสดไว้ใช้จ่ายตามวงเงินเก็บรักษาตามที่กระทรวงการคลังได้กําหนด นอกจากนี้ ยังทําการเบิก และ  ส่งเงินตามสายการเบิกส่งเงินที่กระทรวงการคลังได้กําหนดไว้
4.       เป็นผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยประจําจังหวัดและอําเภอ เก็บรักษา รับฝาก และเบิกจ่ายเงินฝากของ สาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดและอําเภอต่างๆ นอกจากนี้ คลังจังหวัดบางแห่งยังเป็นผู้ดําเนินงานสํานักหักบัญชีระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ ภายในจังหวัดอีกด้วย
5.       จัดทําสรรบัญชีเงินงบประมาณเงินนอกงบประมาณและเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในหน้าที่ของของผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยการรับจ่ายเงินผ่านสํานักงานคลังจังหวัดและสํานักงานคลังอําเภอยังกําหนดให้ส่วนราชการเลือกที่จะรับเงินสดที่สํานักงานคลังจังหวัดหรือสํานักงานคลังอําเภอหรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของส่วนราชการที่เปิดไว้กับธนาคารพาณิชย์ ภายในจังหวัดหรืออําเภอ นั้นๆได้ ต่อมาปี พ.ศ.2546 ได้มีการปฏิรูประบบราชการเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ ให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นสําคัญทําให้สํานักงานคลังจังหวัดมีการปรับบทบาทภารกิจเพื่อก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
 
สํานักงานคลังจังหวัดจึงได้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานใหม่โดยแบ่งเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่มงาน คือ
1.      ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2.      กลุ่มงานวิชาการด้านการคลังการบัญชี
3.      กลุ่มระบบบริหารการคลัง
4.      กลุ่มงานบริหารการคลังและเศรษฐกิจ
 
พ.ศ. 2559 ได้มีการปรับบทบาทภารกิจโดยได้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานใหม่โดยแบ่งเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1.       ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2.       กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 1
3.       กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 2
4.       กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 3
 
พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับบทบาทภารกิจโดยได้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานใหม่โดยแบ่งเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1.       ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2.       กลุ่มงานกำกับและบริหารการเงินการคลัง
3.       กลุ่มงานกำกับและบริหารระบบการคลัง
4.       กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลังและเศรษฐกิจ
 
พ.ศ. 2564 ได้มีการปรับบทบาทภารกิจโดยได้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานใหม่โดยแบ่งเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1.       ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2.       กลุ่มงานวิชาการ
3.       กลุ่มงานระบบการคลัง
4.       กลุ่มงานนโยบายและเศรษฐกิจจังหวัด
 
จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งธรรมะ มีปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พระธาตุเชิงชุม พระธาตุดุม พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุศรีมงคล พระธาตุภูเพ็ก และมีพระเกจิอาจารย์ดังที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, พระอาจารย์ฝั่น อาจาโร, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, พระอาจารย์วัน อุตตโม และหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น จังหวัดสกลนครตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์บริเวณแนวทิวเขาภูพาน อำเภอวาริชภูมิ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดสกลนครอยู่ร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมบ้านเชียงในจังหวัดอุดรธานี จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในพื้นที่แอ่งสกลนคร บริเวณลุ่มแม่น้ำสงครามครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอบ้านดุง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอพรรณานิคม และรอบ ๆ หนองหาน อำเภอเมืองสกลนคร พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จำนวน 83 แห่ง ชุมชนโบราณของแอ่งสกลนครนี้มีอายุประมาณ 600 ปีก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 8 (ระหว่าง 3,000-1,800 ปีมาแล้ว) จากหลักฐานการค้นพบต่าง ๆ ของที่นี่พบว่า ชุมชนโบราณในแอ่งสกลนครได้มีการรวมตัวกันเป็นสังคมขนาดใหญ่และอาจจะพัฒนาเป็นสังคมเมืองในสมัยต่อมา สกลนครเดิมชื่อ “เมืองหนองหานหลวง” แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โดยขุนขอมราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ซึ่งได้อพยพครอบครัวและบ่าวไพร่มาจากเมืองเขมร มาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหานหลวง บริเวณท่านางอาบ ปัจจุบันเรียกว่าท่าศาลา อำเภอโคกศรีสุพรรณ มีเจ้าปกครองเรื่อยมาจนสิ้นสมัยพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เมื่อเกิดฝนแล้งทำให้ราษฎรอพยพไปเมืองเขมร เมืองหนองหานหลวงจึงร้างอยู่ระยะหนึ่ง ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อสกลนครอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "เชียงใหม่หนองหาน" หรือเมืองสระหลวงหลังจากนั้นเมืองสกลนคร คงอยู่ใต้การปกครองกันไปมา ระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับอาณาจักรสุโขทัย และไม่ค่อยมีบทบาททางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นนัก จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้คนกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆทำมาหากินตามริมหนองหาน จ่ายส่วย อากรให้เจ้าแขวงประเทศราชศรีโคตรบ่อง เพื่อถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้แก่ราชธานีกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งบ้านเมืองดูแลรักษาองค์พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็น เมืองสกลทวาปี โดยแต่งตั้งให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2369 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมือง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมือง ปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์) ล่วงล้ำไปเมืองนครราชสีมาได้โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่เมืองกบินทร์บุรีบ้าง เมืองประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาองค์พระธาตุเชิงชุมแต่เพียงพวกเพี้ยศรีคอนชุม ตำบลธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยาง และบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น ในสมัยต่อ ๆ มาได้มีราชวงศ์คำแห่งเมืองมหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอสร้างบ้าน แปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลทวาปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์คำเป็นพระยาประเทศธานี (คำ) ในตำแหน่งเจ้าเมืองสกลทวาปี และทรงเปลี่ยนนามเมืองใหม่เป็น เมืองสกลนคร ตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึง พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองเมืองสกลนคร จึงเปลี่ยนเป็นรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคมณฑลเทศาภิบาล โดยส่วนกลางส่งพระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครคนแรก และมีพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 39 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 244,558 คน)