CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่างๆ” ประกาศในราชกิจกานุเบกษาเมื่อวันอาทิตย์เดือน 5 แรม 12 ค่ำ พ.ศ.2418 ในการนี้ ได้แยกกรมท่าออกจากกรมพระคลังและตั้งสำนักงานสำหรับงานการคลัง ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์
เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) ได้มีการตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่จ่ายรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวง กับถือบัญชีพระราชทรัพย์ รับผิดชอบสำหรับแผ่นดินทั้งสิ้นและเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดิน โดยแบ่งงานออกเป็น 13 กรม เพื่อให้เป็นระบบระเบียบตามแบบสากล และแบ่งกรมตามภารกิจงานที่แตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจน ประกอบด้วย
 
“กรมเจ้ากระทรวง” 5 กรม ได้แก่ กรมพระคลังกลาง กรมสารบัญชี กรมตรวจ กรมเก็บ และกรมพระคลังข้างที่
“กรมขึ้น” 8 กรม ได้แก่ กรมเจ้าจำนวนเก็บภาษีอากร 5 กรม ได้แก่ กรมส่วน กรมสรรพากร กรมสรรพภาษี กรมที่ดิน และกรมศุลกากร และกรมทำการแผ่นดิน 3 กรม ได้แก่ กรมกระสาปนสิทธิการ กรมงานพิมพ์บัตร และกรมราชพัสดุ
“กรมสารบัญชี” หรือ กรมบัญชีกลางในปัจจุบันจึงถือกำเนิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2433 มีหน้าที่สำหรับรับจ่ายเงินแผ่นดิน และถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งหมด โดยมีอธิบดีรับผิดชอบการทั้งปวง มีรองอธิบดีสำหรับช่วยการแทน และมีนายเวร 4 นาย คือ เวรรับ เวรจ่าย เวรแบงก์ และเวรบาญชี
ต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติกรมสารบาญชีขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 กอง ประกอบด้วย กองบาญชีกลาง กองรับ และกองจ่าย กับหน้าที่ 4 นายเวร คือ เวรรับ เวรจ่าย เวรเกณฑ์ (เวรแบงก์เดิม) และเวรบาญชีเพื่อกำหนดหน้าที่ภายในกรมให้เป็นสัดส่วน ชัดเจนและเหมาะสมขึ้น
 
ครั้งถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อ พ.ศ.2458 โดยให้รวม “กรมตรวจ” และ “กรมสารบาญชี” เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมบาญชีกลาง” เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2458 ในคราวนี้ทำให้กรมบาญชีกลางมีภารกิจหนักขึ้น โดยเป็นทั้งผู้รวบรวมประมวลบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน วางรูปและแนะนำการบัญชีแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการเบิกจ่าย เก็บเงินผลประโยชน์ รักษาเงินแผ่นดิน สอบสวน การเบิกจ่ายในราชการแผ่นดิน รวมถึงการสอบสวนและตักเตือนเจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่ทำการเก็บเงินผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดินนำส่งพระคลัง
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๖ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมในกระทรวงพระคลัง ได้เปลี่ยนชื่อ กรมบาญชีกลาง เป็น “กรมบัญชีกลาง” สำหรับหน้าที่ของกรมบัญชีกลางนั้น รับผิดชอบการควบคุมงบประมาณการตรวจจ่ายเงิน ประเภทต่างๆ รวมทั้งควบคุมการรับเงินรายได้แผ่นดิน การทำบัญชีและรายงาน ตลอดจนการให้บริการด้านแนะนำและวางรูปบัญชีแก่ส่วนราชการ และในส่วนภูมิภาคนั้นได้กำหนดให้มี “คลังจังหวัด (changwad Treasuries)” ขึ้นเป็นครั้งแรก (ยกเว้นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี) คลังจังหวัดรับผิดชอบควบคุมการรับและจ่ายเงินตลอดจนทำบัญชีและรายงานต่างๆเสนอกรม และในปี พ.ศ.2516 ได้เปลี่ยนชื่อคลังจังหวัดเป็น “สำนักงานคลังจังหวัด” เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาคสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีสัญลักษณ์เป็นรูปนกวายุภักษ์
ต่อมากฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมบัญชี กระทรวงการคลัง พ.ศ.2557 กำหนดนหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมบัญชีกลาง ให้มีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมดูการใช้จ่ายเงิของแผ่นดิน และของหน่วยงานภาครัญให้เป็นไปโดยถูกต้อง มีวินัย คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยวางกรอบหลักเกณฑ์กลางให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ การให้บริการคำแนะนำปรึกษาด้านการเงิน การคลัง การบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารเงินนอกงบประมาณ และการพัสดุภาครัฐ การดำเนินการเกี่ยวับเงินคงคลังให้มีใช้จ่ายอย่างเพียงพอ และการเสนอข้อมูลในเชิงนโยบายการคลังแก่ฝ่ายบริหารโดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อเพื่อให้เกิดสเถียรภาพทางการคลัง รวมทั้งดำเนินการเก่ยวกับการประเมินผลการคลังภาครัฐ การกำกับดูแลนโยบาลและมาตรฐานค่าตอบแทนสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของบุคลกากรภาครัฐ
 
สำนักงานคลังจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นส่วนราชการภูมิภาคในสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตั้งอยู่ที่ ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม รหัสไปรษณีย์ 75000 มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามภารกิจของกรมบัญชีกลางในระดับจังหวัด โดยมีโครงสร้างการบริหารงานเป็น 3 กลุ่มงาน กับอีก 1 ฝ่าย คือ กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 1 กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 2  กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 3 และฝ่ายบริหารทั่วไป โดยปัจจุบันมีนางสุนิสา ศุภจรรยา เป็นคลังจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งดำรงค์ตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558
 
สำหรับประวัติของสำนักงานคลังจังหวัด นับตั้งแต่ได้มีการกำหนดแบ่งส่วนราชการกรมสารบาญชี หรือกรมบัญชีกลางให้มีการบริหารส่วนภูมิภาคในปีพ.ศ. 2472 เป็นต้นมา หน้าที่รับผิดชอบงานด้านควบคุมดูแลการรับและเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินคงคลังของแผ่นดิน การทำบัญชีและรายงานเสนอกรมฯ ตลอดทั้งการเป็นผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันไม่ได้ปฏิบัติงาน ด้านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2548 เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานในหลายเรื่องของสำนักงานคลังจังหวัดในการทำหน้าที่รับจ่ายเงินเปลี่ยนจากระบบกระดาษเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องมีการปรับบทบาทของสำนักงานคลังจังหวัด
                 แผนปฎิรูปกระทรวงการคลังในการสร้างความเชื่อถือ และความรู้เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านเครือข่ายกรมบัญชีกลาง ในส่วนภูมิภาคด้วยการอบรมบุคลากรสำนักงานคลังจังหวัดให้เป็นนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (Chieft Executive Officer : CFO) ของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้รับการสนับสนุนทาง วิชาการจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
                นโยบายกระทรวงการคลังเน้นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากหญ้าและนโยบายการปรับเปลี่ยนบทบาทและภารกิจของสำนักงานคลังจังหวัดให้เ็ป็นศูนย์ข้อมูล (Information Center) ของจังหวัด และกระทรวงการคลังนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในการประชุมเชิงปฏิบัติ "การพัฒนาผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง" เมื่อวันที่ 16-17 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ต้องฝึกอบรมคลังจังหวัดให้เป็น CFO หรือช่วยสนับสนุนงานของผู้ว่าราชการจังหวัด CFO ในด้านการบริหารการเงินกระทรวงการคลังมีแนวความคิดที่จะปรับบทบาทให้สำนักงานคลังจังหวัดทำหน้าที่เปรียบเสมือนกระทรวงการคลังในทุกจังหวัด โดยเป็นนักบริหารเศรษฐกิจการคลังประจำจังหวัด (CFO) ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 ได้เห็นชอบในหลักการปรับบทบาทและภาระกิจบุคลากรสำนักงานคลังจังหวัดให้เป็น CFO ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ คลังจังหวัดหรือสำนักงานคลังจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับมอบหมายเป็นหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนกรมบัญชีกลาง 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 1 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 157,051 คน)