CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
            สำนักงานคลังจังหวัดร้อยเอ็ด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๔ ในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี มีอำมาตย์เอกหลวง วสิฐิโกศาจารย์ เป็นคลังจังหวัดคนแรก (พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๗๒) คนที่สอง รองอำมาตย์ตรีพระพิมลสมบัติ (พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๘๐) คนที่สาม รองอำมาตย์เอก หลวงบริบาลสมบัติ (พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒) คนที่สี่ รองอำมาตย์ตรี บุญมา พัธนิบูลย์ (พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔) นับเนื่องถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗) มีคลังจังหวัดทั้งหมด ๓๒ คน
            สำนักงานคลังจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ในสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตั้งอยู่ในศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ถนนเทวาภิบาล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นการควบคุมการเบิกจ่ายเงินของแผ่นดินซึ่งเก็บรักษาเงินคงคลังในรูปของเงินสด ให้บริการเบิกจ่ายเงินกับทุกส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ทำหน้าที่แทนธนาคารแห่งประเทศไทย รับและจ่ายเงินฝากให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของจังหวัด และนอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกรมธนารักษ์ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับ-แลก เหรียญกษาปณ์ หมุนเวียนให้กับประชาชน และผู้ค้ารายย่อยในจังหวัด และทำหน้าที่การกำกับควบคุมการเบิกจ่ายเงินในระบบเอกสาร (ฎีกา) เน้นในเรื่องของระเบียบกฎหมายเป็นหลัก เมื่อสถานการณ์ของบ้านเมืองพัฒนาทันสมัยมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารกิจการของสำนักงานคลังจังหวัด โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน ประกอบกับพัฒนาการของภาคราชการเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารกิจการภาครัฐสมัยใหม่ จึงได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารกิจการ โดยยกเลิกภารกิจบริหารเงินสด ไม่เป็นตัวแทนของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เป็นตัวแทนของธนารักษ์ รวมทั้งยกเลิกการเบิกจ่ายเงินในระบบเอกสาร (ฎีกา) ปรับเปลี่ยนเป็นใช้ระบบเทคโนโลยีมากำกับการเบิกจ่าย (ระบบ GFMIS) ระบบบำเหน็จบำนาญ (e-pension) ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ระบบ e-GP) นอกจากนี้ยังมีการดำเนินภารกิจเกี่ยวกับข้อมูลทางเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองแนวทางการบริหารเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศ จึงได้มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัด ซึ่งเป็นบทบาทที่ได้รับมอบหมายจากกรมบัญชีกลางเพื่อตอบสนองกับภาครัฐ
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 5 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 178,957 คน)