CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
ปีพุทธศักราช 2433
กรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวงตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
กิจการบ้านเมืองในระยะนั้นก็เจริญก้าวหน้ามากขึ้น  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวง การคลังมหาสมบัติขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับรับ สำหรับจ่ายและรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวงกับถือบัญชีพระราชทรัพย์ สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้นและเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วพระราชอาณาจักรเสนาบดีรับผิดชอบ บังคับราชการในกระทรวง สิทธิขาดนับเป็นกรมเจ้ากระทรวง  กรมสารบาญชีเป็นกรมเจ้ากระทรวงกรมหนึ่งมีหน้าที่สำรับจ่ายเงินแผ่นดินและถือสารบาญชี พระราชทรัพย์ทั้งสิ้นโดยผลแห่งพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงการคลัง มหาสมบัติ วันที่ 7 ตุลาคม 2433จึงนับเป็นวันก่อตั้งกรมและในวันเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าพระราชบัญญัติพระธรรมนูญกำหนดหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติกำหนดหน้าที่และแบ่งงานส่วนราชการในกรมสารบาญชีไว้กว้าง ๆ มิได้แยกออกเป็นกองให้เป็นสัดส่วนเพียงพอกับปริมาณงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกรมสารบาญชีขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433)   กำหนดหน้าที่และแบ่งกรมสารบาญชีีออกเป็น  3   กอง คือ  กองบาญชีกลาง   กองรับและกองจ่าย กับหน้าที่นายเวร   4   คือ เวรรับ   เวรจ่าย  เวรเกณฑ์ และเวรบาญชี ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ  กำหนดหน้าที่ใหม่และให้ชื่อกรมบาญชีกลาง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบรัฐธรรมนูญ
 
ปีพุทธศักราช 2476  
มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงาน
และกรมในกระทรวงการคลังขึ้นใหม่ ระบุนามกรมบาญชีกลางเป็น “กรมบัญชีกลาง” สำหรับหน้าที่ของกรมบัญชีกลางนั้น รับผิดชอบตรวจสอบควบคุมการรับจ่ายเงินของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยแบ่งราชการบริหารส่วนกลางออกเป็น 4 กอง คือกองกลางกองเงินเดือนกองค่าใช้สอยและการจรและกองประมวลบัญชีเพื่อรับผิดชอบงานหลักของกรมที่เหลืออยู่ในขณะนั้น คือการควบคุมงบประมาณการตรวจจ่ายเงินประเภทต่างๆรวมทั้งควบคุม การรับเงินรายได้แผ่นดิน การทำบัญชีและรายงาน ตลอดจนการให้บริการด้านแนะนำและวางรูปบัญชีแก่ส่วนราชการและในส่วนภูมิภาคนั้นได้กำหนดให้มี “คลังจังหวัด (Changwad Treasuries)” ขึ้นเป็นครั้งแรก (ยกเว้นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี) คลังจังหวัดรับผิดชอบควบคุมการรับและจ่ายเงิน ตลอดจนทำบัญชีและรายงานต่าง ๆ เสนอกรม  ตลอดทั้งการเป็นผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2516 ได้เปลี่ยนชื่อคลังจังหวัดเป็น “สำนักงานคลังจังหวัด” เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาคสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีสัญลักษณ์เป็นรูปนกวายุภักษ
                          
ปีพุทธศักราช 2548
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดิน
โดยตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้นรับผิดชอบบริหารราชการรวม   12  กรม  แทนการปกครองแบบจตุสดมภ์ ซึ่งเคยใช้มาแต่โบราณ  โดยมีกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกรม 1 ใน 12 กรม พร้อมกับโปรดเกล้า ฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติ”   เพื่อรับผิดชอบว่าการบรรดาภาษีอากรและเงินที่จะรับจะจ่ายในแผ่นดินทั้งสิ้นและบัญญัติกำหนดอำนาจหน้าที่ ของปลัดบาญชีกลางในหมวดมาตราที่ 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว สำหรับเป็นพนักงานที่จะว่าภาษีอากรและรักษาสมุดบัญชีเงินของแผ่นดิน
 
ปัจจุบัน
สำนักงานคลังจังหวัดไม่ได้ปฏิบัติงานด้านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย  ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548
เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการ มีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานใน  หลายเรื่องของสำนักงานคลังจังหวัดในการทำหน้าที่รับ –จ่ายเงิน เปลี่ยนจากระบบกระดาษเป็นเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์  จึงต้องมีการปรับปรุงบทบาทของสำนักงานคลังจังหวัด  แผนปฏิรูปกระทรวงการคลังในการสร้างความเชื่อถือและความรู้เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ผ่านเครือข่ายกรมบัญชีกลางในส่วนภูมิภาค ด้วยการอบรมบุคลากรสำนักงานคลังจังหวัดให้เป็นนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (Chieft Executive Officer : CFO) ของผู้ว่าราชการจังหวัดโดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย และนโยบายกระทรวงการคลังเน้นความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากหญ้า และนโยบายปรับเปลี่ยนบทบาทและภารกิจของสำนักงานคลังจังหวัดให้เป็นศูนย์ข้อมูล (Information Center) ของจังหวัดและกระทรวงการคลัง นโยบายของ  ฯพณฯ  นายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง” เมื่อวันที่ 16 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ต้องฝึกอบรมคลังจังหวัดให้เป็น CFO หรือช่วยสนับสนุนงานของผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ในด้านการบริหารการเงิน กระทรวงการคลังมีแนวความคิดที่จะปรับบทบาทให้สำนักงานคลังจังหวัด ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกระทรวงการคลังในทุกจังหวัด โดยเป็นนักบริหารเศรษฐกิจการคลังประจำจังหวัด  (CFO) ซึ่งมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่  30  กันยายน  พ.ศ. 2546 ได้เห็นชอบในหลักการปรับบทบาทและภารกิจบุคลากรสำนักงานคลังจังหวัดให้เป็น CFO ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
 
สำนักงานคลังจังหวัดนครพนม
เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาคในสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง  ตั้งอยู่ที่ ศาลากลางจังหวัดนครพนม 
ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000  มีผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวน 32 คน  ผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดนครพนมคนแรก คือ หลวงนารถหิรัญรักษ์  ดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2454 และผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดนครพนมคนปัจจุบัน คือ นางรัตนาภรณ์  อัศวนุภาพ ดำรงตำแหน่งเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 338 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 3,709,993 คน)