CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดมหาสารคาม
๑. ข้อมูลพื้นฐาน
๑.๑ ความเป็นมา
จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สะดืออีสาน) เป็นมหามงคลนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๔) ทรงพระราชทานให้เป็นชื่อเมืองครั้งทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ มีความหมายว่า ถิ่นฐานที่อุดมสมบูรณ์ด้วยความ ดีงามทั้งปวงมีท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง
ท้าวมหาชัย (กวด) ได้พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑,๐๐๐ เส้น จึงหยุดตั้งอยู่บริเวณที่ดอน แล้วจัดพิธีการฝังเสาหลักเมือง บริเวณนั้นได้สร้างวัดชื่อวัดดอนเมือง แต่ราษฎรนิยมเรียกว่า “วัดข้าวอ้าว” อยู่ได้ประมาณ ๖ เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้้า จึงย้ายมาตั้งระหว่างกุดยางใหญ่กับหนองกระทุ่ม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่บ้างแล้ว คือบ้านจาน ประกอบกับห่างออกไปเล็กน้อยทางทิศตะวันตกก็มีหนองหัวช้าง (บริเวณทิศใต้วัดนาควิชัย) และถัดจากหนองกระทุ่มออกไปเล็กน้อยก็เป็นห้วยคะคาง จึงนับว่าเป็นชัยภูมิที่มีแหล่งน้้าสมบูรณ์ ส่วนท้าวบัวทองได้พาผู้คนจ้านวนหนึ่งไปตั้งถิ่นที่อยู่บริเวณบ้านลาดริมฝั่งล้าน้้าชี โดยมีพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดปกครอง และมีพระเจริญราชเดช (กวด) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
๑.๒ ลักษณะทางกายภาพ
๑.๒.๑ ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดมหาสารคาม มีรูปร่างคล้ายนกอินทรีย์กลับหัว ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๕ องศา ๒๕ ลิปดา และ ๑๖ องศา ๔๐ ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ ๑๐๒ องศา ๕๐ ลิปดา และ ๑๐๓ องศา ๓๐ ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ๕,๒๖๗.๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓.๓ ล้านไร่
 
ทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น
และจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้
ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด
และจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น
และจังหวัดบุรีรัมย์
 
 
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 55 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 404,661 คน)