CGD Internet
การแสดงผล C C C
ประวัติความเป็นมา
ประวัติสำนักงานคลังจังหวัดลำปาง
 
สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ได้มีการกำหนดแบ่งส่วนราชการกรมบัญชีกลางให้มีการบริหารส่วนภูมิภาคในปี พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา
สถานที่ตั้ง
พ.ศ.2493     สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง  ตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดลำปาง (หลังที่ 1) ถนนบุญวาทย์ ตำบล
                      หัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ตรงข้ามกับ สถานีตำรวจภูธรเมืองลำปาง
พ.ศ.2507     สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง ย้ายมาอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัดลำปาง (หลังที่ 2) ถนนบุญวาทย์ ตำบล
                      หัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ตรงข้ามกับ ศาลหลักเมืองลำปาง
พ.ศ.2540     ย้ายศาลากลางจังหวัดลำปางไปที่ศูนย์ราชการจังหวัดลำปางสำนักงานคลัง จังหวัดลำปาง จึงย้ายมา
                      อยู่ที่ ศาลากลางจังหวัดลำปาง (หลังที่3)  ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง
                      จังหวัดลำปาง  โดยไม่ได้มีการบันทึกประวัติสำนักงานคลังจังหวัดลำปางไว้ แต่พอรวบรวมได้ดังนี้
พ.ศ. 2469   สมัยรัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองลำปางประดิษฐาน ณ สำนักงานคลัง
                     จังหวัดลำปาง จนถึงปัจจุบันนี้
พ.ศ. 2547   เริ่มระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ (GFMIS)
                     งดภารกิจด้านผู้แทน กบข.
พ.ศ. 2548   งดภารกิจด้านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2555   งดภารกิจด้านเหรียญกษาปณ์ของกรมธนารักษ
พ.ศ. 2557   สำนักงานคลังจังหวัดลำปางได้รับการคัดเลือกให้เป็นสำนักงานคลังจังหวัดนำร่อง การปรับบทบาท
                     สำนักงานคลังจังหวัด(1 ใน 9 จังหวัดของประเทศ)และดำเนินการปรับปรุงสำนักงานคลังจังหวัดลำปาง
พ.ศ. 2558  สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง ได้เปิดสำนักงานใหม่เป็น Smart Office
 
                   สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง  ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง  ชั้น 1 ถนนวชิราวุธดำเนิน  อำเภอเมือง   จังหวัดลำปาง เริ่มก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2540 โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดลำปางคนแรกคือนายชาญพงศ์  รุ่งทอง สำนักงานคลังจังหวัดลำปางเป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคดำเนินตามนโยบายของกรมบัญชีกลาง สังกัดกระทรวงการคลัง  โดยทำหน้าที่ความรับผิดชอบใน            การกำกับดูแลบริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส มีวินัย คุ้มค่าและสามารถตรวจสอบได้ และมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านกฎหมาย การเงินการคลัง  การบัญชี  การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐการตรวจสอบภายใน  ค่าตอบแทนและสวัสดิการเงินนอกงบประมาณ  ลูกจ้างและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับการรักษาวินัยและความยั่งยืนทางการคลังให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐทางด้านการบริหารการเงินภาครัฐ  และเป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการคลังเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์องค์กรที่ดีไปสู่ภายนอก
 
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 3 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 227,656 คน)