CGD Internet
การแสดงผล C C C

ข้อมูลสำนักงานคลัง

ระบบงาน

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานคลังจังหวัดชุมพร
 
ชื่อภาษาไทย สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร
ชื่อภาษาอังกฤษ Chumphon Provincial Treasury’s Office
 
              ประวัติความเป็นมาของสำนักงานคลังจังหวัดชุมพร จากการสืบค้นไม่พบว่ามีเอกสารหรือหลักฐานว่าตั้งขึ้นมาแต่เมื่อใด โดยปรากฏหลักฐานการตั้งเมืองในสมัยโบราณมีชื่อว่า “เมืองชุมพร” เมืองชุมพรเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน “ปรากฏตามตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอสมุดแห่งชาติ” เมื่อศักราช ๑๐๙๘ พระยาศรีธรรมาโศกราช ตั้งเมืองสิบสองนักษัตร “เมืองชุมพร” มีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง เป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ การเดินทางทางบกต้องผ่านเมืองชุมพร เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๑๙๙๗ (จ.ศ. ๘๑๖) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ พระเจ้าอยู่หัวในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งได้โปรดให้ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ได้มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าสั่งว่า บรรดาข้าราชการอยู่บนหัวเองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงให้ถือศักดินาตามพระราชบัญญัติ และปรากฏว่ามีออกญาเคางะทราธิบดีศรีสุรัตวลุมหนักพระชุมพร เมืองตรีถือศักดินา ๕,๐๐๐ ไร่ เป็นอันรับรู้ว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองตรี และเกิดขึ้นแล้วในแผ่นดินของพระองค์ แต่ต้องเข้าใจว่าก่อนที่จะได้เป็นเมืองตรี เมืองชุมพรจะต้องเป็นเมืองเล็กมาก่อน จึงไม่มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ไว้ให้เห็นชัด เพิ่งมาปรากฏแน่ชัดขึ้นว่าเมืองชุมพรเป็นหัวเมืองหนึ่งในหัวเมืองปักษ์ใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๙๗ เป็นต้นมา “จังหวัดชุมพร” เพิ่งเริ่มใช้ในปี ๒๔๕๙ โดยทางราชการได้เปลี่ยนนามท้องที่ที่เรียกเมืองอันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลว่า “จังหวัด”
              สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร สันนิษฐานว่าตั้งควบคู่กับจังหวัดชุมพรมาตั้งแต่ตั้งเมืองชุมพร และศาลาที่ว่าการมณฑลตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าตะเภา (ศาลากลางจังหวัดชุมพรหลังแรก เดิมมีชื่อว่าที่ว่าการมณฑลเมืองชุมพร และสันนิษฐานว่าที่ทำการคลังเมืองตั้งอยู่ภายในที่ว่าการมณฑลเมืองชุมพร) ต่อมาน้ำเซาะตลิ่งพัง ได้ย้ายที่ทำการมาตั้งที่สนามหญ้าหน้าสโมสรข้าราชการจังหวัดชุมพร (ศาลากลางจังหวัดชุมพรหลังที่สอง) และต่อมาในสมัยที่พระสำเริงนฤปการเป็นเจ้าเมืองได้ขออนุญาตเงินสร้างศาลากลางจังหวัดชุมพรขึ้นใหม่ และสร้างเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๖๑ โดยย้ายที่ทำการมายังศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ (ศาลากลางจังหวัดชุมพรหลังที่สาม) เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๖๒ และต่อมาได้งบประมาณสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดหลังเดิมเป็นแบบตึกทรงไทยสองชั้น และได้ย้ายที่ทำการมายังศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ เลขที่ ๑ ถนนปรมินทรมรรคา ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (ศาลากลางจังหวัดชุมพรหลังที่สี่) เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๒ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เกิดพายุใต้ฝุ่นเกย์ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เกิดพายุใต้ฝุ่นซีตาร์ส่งผลให้ศาลากลางเก่าถูกน้ำท่วม ทำให้ทรัพย์สินและเอกสารของ ทางราชการเกิดความเสียหาย ประกอบกับพื้นที่บริเวณศาลากลางเดิมคับแคบ ไม่เพียงพอกับจำนวนหน่วยงานราชการที่เพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการสร้างศูนย์ราชการจังหวัดชุมพรหลังปัจจุบันขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (ศาลากลางจังหวัดชุมพรหลังที่ ๕ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร) และสำนักงานคลังจังหวัดชุมพรได้ย้ายมาอยู่ ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร เลขที่ ๓๓๓ ถนนไตรรัตน์ ตำบล นาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดชุมพรในขณะนั้น คือนายปรีชา โพธิ์ฉาย
ปรากฏตามแผ่นป้ายรายนามพระคลังเมือง คลังเมือง คลังจังหวัด จังหวัดชุมพร มี ผู้ดำรงตำแหน่งพระคลังเมือง คลังเมือง คลังจังหวัด จังหวัดชุมพร ของสำนักงานคลังจังหวัดชุมพร ดังนี้
1. นายช้อย                                          เจ้าพนักงานพระคลังเมือง       ตั้งแต่ ร.ศ. 125 ถึง ร.ศ. 131
2. นายทอง                                          พนักงานคลังเมือง                   ตั้งแต่ ร.ศ. 131 ถึง พ.ศ. 2456
3. นายสังวาล                                      คลังเมือง                                 ตั้งแต่ พ.ศ. 2456 ถึง พ.ศ. 2457
4. รองอำมาตย์ตรี ขุนสาทรศุถรัชฎ์      คลังเมือง                                 ตั้งแต่ พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2458
5. รองอำมาตย์โท ขุนสมาหารราชธน  คลังเมือง                                 ตั้งแต่ พ.ศ. 2458 ถึง พ.ศ. 2469
6. รองอำมาตย์เอก หลวงอเนกพิตรสาทร        คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ถึง พ.ศ. 2482
7. นายประทัง ลีมาพันธ์                                   คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ถึงพ.ศ. 2484
8. นายปรีชา พจนมณี                                      คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2486
9. นายเสริม ปาณัษเฐียร                                  คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ พ.ศ. 2486 ถึง พ.ศ. 2488
10.นายหล บุนนาค                                          คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 ถึง 30 ก.ย. 2511
11.นายโชติ โยธารักษ์                                     คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2511 ถึง 30 ก.ย. 2516
12.นายประโยชน์ กิจจะวัฒนะ                          คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2516 ถึง 30 ก.ย. 2520
13.นายวิเชียร วิสัยจร                                       คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2520 ถึง 30 ก.ย. 2521
14.นายพูลสุข อมรพัฒน์                                   คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2521 ถึง 30 ก.ย. 2523
15.นายวิชัย เจริญศิริพันธ์                                 คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2523 ถึง 30 ก.ย. 2524
16.นายไพโรจน์ พจนวิเศษ                               คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2524 ถึง 30 เม.ย. 2526
17.นายเชาวน์พัฒนศรี                                      คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 2526 ถึง 3 ต.ค. 2531
18.นายโมรา ไชยาวรรณ                                  คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 4 ต.ค. 2531 ถึง 8 พ.ย. 2534
19.นางวิลาวรรณ เกษตรภิบาล                         คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 9 พ.ย. 2534ถึง 1 ต.ค. 2535
20.นายสากล ครุฑเดชะ                                   คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 14 พ.ย. 2535 ถึง 6 ต.ค. 2538
21.นายถวัลย์ เกษตรภิบาล                              คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2538 ถึง 31 ก.ค. 2541
22.นายกิตติศักดิ์ รัตนพันธุ์                                คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2541 ถึง 30 ก.ย. 2543
23.นายปรีชา โพธิ์ฉาย                                     คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2543 ถึง 30 ก.ย. 2544
24.นางสาวประคอง ถิ่นสมอ                             คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2544 ถึง 30 ก.ย. 2547
25.นางสาวอารี กลิ่นทอง                                 คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2547 ถึง 30 ก.ย. 2550
26.นางกิตติยา เมธิโยธิน                                  คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2550 ถึง 10 พ.ย. 2552
27.นางนฤมล โยธารักษ์                                   คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 2553 ถึง 30 ก.ย. 2555
28.นางสุวณี สุขประวิทย์                                  คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 4 ธ.ค. 2555 ถึง 26 ก.พ. 2559
29.นายสมศักดิ์  ภู่สกุล                                     คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 3 ส.ค. 2559 ถึง  2 ต.ค.2560
30.นางสาวสิส์ภรัฎฐ์  เจริญโอสถ                       คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 2 พ.ย. 2560 ถึง 30 ก.ย.2565
31.นางเพ็ญลดา  สายสวัสดิ์                             คลังจังหวัด                  ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2565 ถึง ปัจจุบัน
ซึ่งจากหลักฐานดังกล่าวพอสรุปได้ว่า
- เริ่มมีพระคลังเมืองชุมพร ตั้งแต่ ร.ศ.125 ถึง ร.ศ.131 โดยมีนายช้อยดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพระคลังเมือง ซึ่งจังหวัดชุมพรในขณะนั้นมีฐานะเป็นเมืองตรี
- เปลี่ยนเป็นคลังเมือง โดยมีนายทอง ดำรงตำแหน่งพนักงานคลังเมืองคนแรกตั้งแต่ ร.ศ. 131ถึง พ.ศ. 2456 และรองอำมาตย์ตรี ขุนสาทรศุถรัชฎ์ดำรงตำแหน่งพนักงานคลังเมืองคนสุดท้ายตั้งแต่ พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2458ซึ่งจังหวัดชุมพรในขณะนั้นมีฐานะเป็นเมืองตรี
- ต่อมาเปลี่ยนเป็นสำนักงานคลังจังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 จนถึงปัจจุบัน และจังหวัดชุมพรเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลเรียกว่าจังหวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 โดยผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดชุมพรคนแรกคือ รองอำมาตย์เอก หลวงอเนกพิตรสาทร ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ถึงพ.ศ. 2482 และผู้ดำรงตำแหน่งคลังจังหวัดชุมพรคนปัจจุบันคือนางสุวณี สุขประวิทย์เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคม 2555
 
จำนวนผู้เข้าชม วันนี้ 27 คน
(จากผู้เข้าชมทั้งหมด 306,243 คน)